
เรื่องผล คนสร้างงาน

แม้เราไม่ได้อยู่ตรงนั้น แต่ทุกสิ่งที่สอนจะเหมือนเราอยู่ด้วยเสมอ...
มูลนิธิดั่งพ่อสอน ผลักดันให้ผู้ที่ได้รับการอบรมพัฒนาจากหลักสูตรระยะยาว ได้นําความรู้ ความสามารถไปใช้ในการพัฒนาและดําเนินงาน “โครงการความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)” ร่วมกันแก้ไขปัญหาจากจุดเล็กในเรื่องการศึกษา โดยเริ่มต้นที่ปัญหาของโรงเรียน ขนาดเล็ก นั่นทําให้การเข้าไปร่วมแก้ไขและพัฒนานั้นไม่เกินกําลังของผู้ดําเนินโครงการ เพื่อ ถึงพร้อมด้วยประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน อย่างแท้จริง
"...การเข้าใจถึงสถานการณ์ของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้น เป็นสิ่งสําคัญที่สุด การช่วยเหลือ ให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับตามความจําเป็นอย่างเหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลที่สุด อีกประการหนึ่ง ในการช่วยเหลือนั้น ควรยึดหลักสําคัญว่า เราจะช่วยเขา เพื่อให้ เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป..."
ความตอนหนึ่งในพระราชดํารัส จากหนังสือ “หลักการทรงงาน” สํานักงาน กปร.
เราสร้างคน เพื่อให้คนไปสร้างงาน
โครงการความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรของมูลนิธิดั่งพ่อ สอนได้ร่วมกันดําเนินงาน เพื่อแก้ไขปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กในถิ่นทุรกันดารหรือที่พ่อ แม่ผู้ปกครองมีความยากจนขาดแคลน โดยการเข้าไปสนับสนุนผลักดันเพื่อให้เกิดปัจจัยพื้น ฐานที่จําเป็นเสียก่อน และเมื่อสามารถที่จะพึ่งตนเองได้ช่วยตนเองได้จึงจะนําเข้าสู่การ พัฒนาในลําดับขั้นต่อไป
การที่โรงเรียนขนาดเล็ก 1 แห่งต้องปิดไป จะมีเด็กอย่างน้อย 1 คน ที่ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา
ดังนั้น “โรงเรียนขนาดเล็ก = โอกาสทางการศึกษา” สําหรับเด็กในถิ่นทุรกันดาร หรือขาดแคลนยากจน

ปี 2560 คบเด็กสร้างโรงพยาบาล (Little Hero)
สืบสาน พระราชดํารัสเรื่องความสําคัญของเด็ก
สร้างสรรค์ต้นแบบจากโครงการพระราชดําริ
“คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนาเพื่อชุมชนยากไร้”
#คบเด็กสร้างโรงพยาบาล มุ่งเน้นการสร้างจิตสํานึกใน
การช่วยเหลือผู้อื่นให้กับเด็ก ๆ โดยดึงเอาความสามารถที่มีอยู่
มาแสดงออกอย่างถูกต้องบนพื้นที่สาธารณะ
เพื่อแก้ไขบรรเทาปัญหาสุขภาพของนักเรียนที่มีผลต่อ
พัฒนาการและการเรียนรู้แล้วจึงขยายผลไปสู่สาธารณสุข
ของชุมชนให้ดีขึ้นเป็นลําดับต่อไป
ผลจากการดําเนินงาน ปี 2560-2564
โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 63 โรงเรียน
นักเรียนและผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 40,000 คน
ยอดเงินบริจาคผ่านโครงการและผ่านมูลนิธิของวัด 56 ล้านบาท
กิจกรรมที่เด็กสร้างสรรค์มากกว่า 100 กิจกรรม ยอดวิวในออนไลน์มากกว่า 21 ล้านวิว
ร่วมสร้างอาคารอุบัติเหตุโรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา
และบริจาคอุปกรณ์ไปยังโรง พยาบาลศูนย์ในจังหวัดต่าง ๆ
ก้าวต่อไป ขยายโอกาสการสนับสนุนไปยังโรงพยาบาลขนาดเล็กในท้องถิ่น อนามัยชุมชน สร้างห้องพยาบาลโรงเรียนและเกื้อหนุนสาธารณสุขชุมชนให้พึ่งตนเองได้









ปี 2561 ครูของประชาชน (My Teacher)
สืบสาน พระราชดํารัสเรื่องการแก้ไขปัญหาขาดแคลนครู
สร้งสรรค์ ต้นแบบจากโครงการพระราชดําริ
“ผลิตภัณฑ์สินค้า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน”
#ครูของประชาชน มุ่งเน้นในเรื่องความมีส่วนร่วมในการดูแล
และจัดหาครูอนุบาลในโรงเรียนของชุมชน เพื่อดูแลเด็กเล็กที่
ต้องดูแลทั้งด้านความปลอดภัยและพัฒนาการ ผลักดันให้
เกิดความมีส่วนร่วมของชุมชนเข้ามามีบทบาทในการแก้ไข
ปัญหาร่วมกัน เพื่อที่จะมีครูอยู่ในท้องที่ได้อย่างถาวร
ผลจากการดําเนินงาน ปี 2561-2564
โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 20 โรงเรียน นักเรียนและผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 1,000 คน เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชนกว่า 20 ชุมชน เกิดครูอัตราจ้างใน 20 โรงเรียน
ยอดเงินบริจาคผ่านโครงการ 1 ล้านบาท
ก้าวต่อไป การขาดแคลนครูเป็นปัญหากับโรงเรียนขนาดเล็กกว่า 3,000 โรงเรียน เราจะ สร้างเครือข่ายผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดําเนินงานระยะยาว









ปี 2564 ก่อร่างสร้างครัว (Kids Are What They Eat)
สืบสาน พระราชดํารัสเรื่องการแก้ปัญหาโภชนาการเด็ก
สร้างสรรค์ ต้นแบบจากโครงการพระราชดําริ
“เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน”
#ก่อร่างสร้างครัว มุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงทางด้าน
อาหารให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะเด็กนักเรียนหลายคน
ไม่ได้ทานอาหารเช้าก่อนมาโรงเรียน การพึ่งพาตนเองใน
เบื้องต้นจึงเป็นสิ่งสําคัญมาก หากเมื่อมีเหลือจากการนําไป
ทําอาหารกลางวันแล้ว ก็จะมีการแลกเปลี่ยนอาหารกับ
โรงเรียนในท้องที่อื่น ๆ เพื่อความหลากหลายต่อไป
ผลจากการดําเนินงาน ปี 2564
โรงเรียนต้นแบบโรงเรียนแรกได้ทดลองโมเดลการแยกค่าจ้างแม่ครัวออกจากค่าอาหาร
กลางวันที่ได้รับจากรัฐ พบว่าสามารถทําให้อาหารกลางวันของเด็กต่อมื้อนั้นดีขึ้น
ก้าวต่อไป พัฒนาโมเดลต้นแบบ “ปลูก ปรุง แปร” สนับสนุนการสร้างเครือข่ายอาหาร
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ควบคู่กับการสร้างโรงเรียนขยายโอกาสเพื่อความหลากหลาย
ของอาหารในโรงเรียนต่อไป









ปี 2565 ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว (Fit Like A Glove)
สืบสาน พระราชดํารัสเรื่องการแก้ปัญหาความขาดแคลน
สร้างสรรค์ ต้นแบบจากโครงการพระราชดําริเรื่อง
“สหกรณ์การเกษตรหุบกะพง”
#ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว มุ่งเน้นไปที่การลดความเหลื่อมล้า
สาเหตุหนึ่งที่ทําให้เด็กในถิ่นทุรกันดารหรือเด็กที่พ่อแม่
ยากจนขาดแคลนต้องประสบปัญหาในการเข้าเรียนร่วมชั้น
กับผู้อื่น การถูกล้อเลียนจากเพื่อนหรือผู้ใหญ่ที่พบเห็น
สร้างปมปัญหาความไม่อยากเรียน ความไม่เท่าเทียมให้เกิด
ขึ้นกับเด็ก ถึงแม้ว่าจะสามารถใส่ชุดอยู่บ้านมาโรงเรียนได้
แต่สภาพของชุดก็ไม่พ้นออกจากความเหลื่อมล้าไปได้
ผลจากการดําเนินงาน ปี 2565
โรงเรียนต้นแบบโรงเรียนแรกได้ทดลองโมเดลการยืมคืน พบว่าสามารถทําให้เด็กมีความสุข
กับการมาเรียนมากขึ้น ผู้ปกครองมีกําลังใจแม้ว่าสถานการณ์ด้านรายได้ยังไม่ดีขึ้น
ก้าวต่อไป พัฒนาโมเดลต้นแบบ “สหกรณ์ออมชุด” สนับสนุนให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของ
สหกรณ์การผลิตในชุมชน ให้นักเรียนได้ฝึกหัดดูแลเรื่องการขายผ่านออนไลน์สร้างทักษะ และความรู้เป็นวิชาชีพ สหกรณ์นํารายได้มาเป็นสวัสดิการเรื่องชุดนักเรียนให้ยั่งยืนต่อไป









ปี 2565 ปลูกโรงเรียนตามใจผู้อยู่
(School Sweet School)
สืบสาน พระราชดํารัสเรื่องความสําคัญของโรงเรียน
สร้างสรรค์ ต้นแบบจากโครงการพระราชดําริเรื่อง
“โรงเรียนพระดาบสและศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทาน"
#ปลูกโรงเรียนตามใจผู้อยู่ มุ่งเน้นการปรับสภาวะ
แวดล้อมซึ่งมีผลต่อการศึกษาและพัฒนาการของเด็ก
เร่งแก้ไขส่วนที่มีปัญหาด้านความปลอดภัยและสุขภาวะ พัฒนาพื้นที่ส่งเสริมพัฒนาการของ เด็ก โดยผลักดันให้เกิดความร่วมมือจากชุมชน
เข้ามาร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนา โดยใช้วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เน้นการหาได้ง่ายในท้องถิ่น นํามาปรับปรุงประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด
แต่ก็ประหยัดและเห็นผลได้จริง
ผลที่คาดจะได้รับ
โรงเรียนต้นแบบโรงเรียนแรกที่ปรับปรุงด้านความปลอดภัย อีกทั้งผลักดันให้เกิดโครงการ พัฒนาภายในโรงเรียน ที่ครูนักเรียน และชุมชน เข้ามาร่วมกันคิดสร้างสรรค์และพัฒนา








พระบรมราโชวาท
“... ผู้ใดมีภาระหน้าที่อันใดอยู่ก็เร่งกระทําให้สําเร็จ ลุล่วงด้วยความรู้ความสามารถด้วย ความจริงใจ พร้อมใจ และความเมตตา ปรารถนาดีต่อกัน ผลการปฏิบัติของแต่ละคน แต่ละฝ่าย จักได้ประกอบ และส่งเสริมกัน เป็นความมั่นคงวัฒนา ของ ประเทศชาติ..."
ความตอนหนึ่งในพระราชดํารัส พระราชทานแก่ประชาชนในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๓๘
“… การพัฒนาประเทศจําเป็นต้องทําตามลําดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมีพอ กิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึง ค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจชั้นที่สูงขึ้นโดยลําดับต่อไป ...”
ความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น 20 ธันวาคม 2516
“… เราไม่เป็นประเทศร่ารวย เรามีพอสมควร พออยู่ได้แต่ไม่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่าง มาก เราไม่อยากจะเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก เพราะถ้าเราเป็นประเทศก้าวหน้าอย่าง มากก็จะมีแต่ถอยกลับ ประเทศเหล่านั้นที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า จะมีแต่ถอย หลังและถอยหลังอย่างน่ากลัว แต่ถ้าเรามีการบริหารแบบเรียกว่าแบบคนจน แบบที่ไม่ติด กับตํารามากเกินไป ทําอย่างมีสามัคคีนี่แหละคือเมตตากัน จะอยู่ได้ตลอดไป ...”
ความตอนหนึ่งในพระราชดํารัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔
“... การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญนั้นจะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มี อยู่ก่อนทั้งสิ้น ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมต่อให้ เจริญขึ้นไปอีกนั้น ยากนักที่จะทําได้จึงควรจะเข้าใจให้แจ้งชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้าง ความเจริญแล้ว ยังต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่อง พร้อม ๆ กันได้ ..."
ความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๓
“... แบบคนจน แบบที่ไม่ติดตํารามากเกินไป ทําอย่างสามัคคีมีเมตตากัน ก็จะอยู่ได้ ตลอด ไม่เหมือนกับคนที่ทําตามวิชาการ ที่เวลาปิดตําราแล้วไม่รู้จะทําอย่างไร ลงท้ายก็ ต้องเปิดหน้าแรกเริ่มใหม่ถอยหลังเข้าคลอง ถ้าเราใช้ตําราแบบอะลุ้มอล่วยกันในที่สุดได้ ก็เป็นการดีให้โอวาทเขาไปว่าขาดทุนเป็นการได้กําไรของเรา นักเศรษฐศาสตร์คงค้านว่า ไม่ใช่แต่เราอธิบายได้ว่าถ้าเราทําอะไรที่เราเสีย แต่ในที่สุดเราเสียนั้น เป็นการได้ทางอ้อม ตรงกับงานของรัฐบาลโดยตรง เงินของรัฐบาล หรืออีกนัยหนึ่ง คือ เงินของประชาชน
ถ้าหากว่าอยากให้ประชาชนอยู่ดีกินดีรัฐจะต้องลงทุน ต้องสร้างโครงการซึ่งต้องใช้เงิน จํานวนเป็นร้อย พัน หมื่นล้าน ถ้าทําไป เป็นการจ่ายเงินของรัฐบาล แต่ในไม่ช้าประชาชน จะได้รับผล ราษฎรอยู่ดีกินดีราษฎรได้กําไรไป ถ้าราษฎรมีรายได้รัฐบาลก็เก็บภาษีได้ สะดวก เพื่อให้รัฐบาลได้ทําโครงการต่อไป เพื่อความก้าวหน้าของประเทศชาติถ้ารู้รัก สามัคคีรู้เสียสละ คือการได้ประเทศชาติก็จะก้าวหน้า และการที่คนอยู่ดีมีสุขนั้น เป็นการ นับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้ ..."
ความตอนหนึ่งในพระราชดํารัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔
“… ใครต่อใครก็บอกว่าขอให้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวม อันนี้ฟังจนเบื่อ อาจจะรําคาญ ด้วยซ้าว่า ใครต่อใครมาก็บอกว่าขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึกในใจว่า ให้ๆ อยู่เรื่อยแล้วส่วนตัวจะได้อะไร ขอให้คิดว่าคนที่ให้เพื่อส่วนรวมนั้นมิได้ให้ส่วนรวมแต่อย่าง เดียว เป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่จะมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้ ...”
ความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันจันทร์ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๑๔
“… บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นมั่นคง และร่มเย็นเป็นสุขสืบมาช้านานเพราะเรามีความ ยึดมั่นในชาติและต่างบําเพ็ญกรณียกิจตามหน้าที่ให้สอดคล้องเกื้อกูลเพื่อประโยชน์ ส่วนรวมของชาติคนไทยทุกคนจึงควรจะได้ตระหนักในข้อนี้ให้มาก แล้วตั้งใจประพฤติตัว ปฏิบัติงาน ให้สมแก่ฐานะและหน้าที่เพื่อให้สําเร็จประโยชน์ส่วนรวม คือความมั่นคง ปลอดภัยของชาติบ้านเมืองไทย ...”
ความตอนหนึ่งในพระราชดํารัส ในการเสด็จออกมหาสมาคมในงานพระราชพิธีเฉลิม พระชนมพรรษา ณ ท้องพระโรง ศาลาราชประชาสมาคม วังไกลกังวล วันพฤหัสบดีที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖
“... เด็กเป็นผู้ที่จะได้รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ใหญ่ดังนั้น เด็กทุกคนจึงสมควรและ จําเป็นที่จะต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่าง ถูกต้องเหมาะสม ให้มีศรัทธามั่นคงใน คุณ ความดีมีความประพฤติเรียบร้อย สุจริต และมีปัญญา ฉลาดแจ่มใสในเหตุผล ...”
ความตอนหนึ่งในพระราชดํารัส พระราชทานในโอกาสปีเด็กสากล วันที่ 1 มกราคม 2522
“... ผู้ที่สามารถจะทํางานให้ชาตินั้น จําเป็น จะต้องมีใจตั้งมั่นใน การงาน มีความอดทน เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต และสําคัญกว่าอื่นจะต้องมีความคิดความเข้าใจที่กระจ่าง แน่นอน และ เที่ยงตรงตามเหตุผลและความเป็นจริง ..."
ความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ วันที่ 24 มกราคม 2522