top of page
318127009_521823959988369_6176529190963003299_n.jpg

เรื่องหลัก มรรคสร้างงาน

โลกหมุนเร็ว… ต้องหมุนตาม หยุดไม่ได้!!! 

โลกแข่งขัน แล้วจะตามเขาทันหรือ? 

ต้องแก่งแย่งชิงดีจะทําได้ไหม 

เราจะไปทางไหนดี…

“... คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มี สิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบและทํางานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธานในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ ..."

ความตอนหนึ่งในพระราชดํารัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย
วันที่ 4 ธันวาคม 2517

น้อมนําสู่ปณิธาน หลักการสู่การกระทํา 

“ความพออยู่พอกิน” ของประชาชน “ความสงบสุข” ของสังคมบ้านเมือง จึงเป็นปณิธานการทํางานของมูลนิธิดั่งพ่อสอน พร้อมกับน้อมนําแนวทาง “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง” ซึ่งเป็นวิถีทางการดําเนินชีวิตที่จะทําให้ประเทศชาติประชาชน มีความสมดุล 

พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง “ทฤษฎีใหม่” แนวทางปฏิบัติจากพอเพียงสู่การเชื่อมโยงต่อยอด “วิถีพุทธ” อบรมพัฒนาสติเกิดความตระหนักรู้แก่ตนเองและหน้าที่ ทําให้เกิดความสงบจากภายใน จนขยายผลสู่ภายนอกและสังคมได้ในที่สุด

มอง “องค์รวม” เริ่ม “แก้ปัญหาที่จุดเล็ก” 

การจะแก้ไขปัญหาใด ๆ ให้สําเร็จลุล่วงได้จริง โดยที่มีทรัพยากรจํานวนน้อย มีความจําเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องน้อมนําหลักการทํางานสองข้อนี้ไปใช้ในการสร้างงาน เช่นการแก้ปัญหา “ความพออยู่พอกิน” เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนมีความเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ต้องมอง 

จุดเชื่อมโยงของปัญหาโดยรอบแล้วพุ่งเป้าไปที่จุดสําคัญ จะทําให้สามารถทํางานได้จริงโดย ไม่เกินกําลัง และพบว่าต้นตออันสําคัญของปัญหาคือ การขาดความรู้ของภาคประชาชน 


แล้วจะเริ่มที่คนกลุ่มไหนดี? จากการเข้าไปศึกษาในภาคธุรกิจพบว่า 98.5% ของธุรกิจที่มี ทั้งหมด* เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผู้ริเริ่มประกอบการ (Startups-Business) อีกปีละกว่าแสนราย รวมถึงกลุ่มชุมชนพ่อค้าแม่ค้าอยู่อีกมาก หากเราให้ความรู้ที่เท่าทันทัดเทียม รวมถึงขยายผลการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงและทฤษฎีใหม่เป็นลําดับ นอกจากจะแก้ปัญหาความพออยู่พอกินของคนกลุ่มใหญ่ ในภาคธุรกิจได้แล้ว ยังจะช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมีความมั่นคงยั่งยืนอีกด้วย

* ข้อมูลจาก สสว. ปี2559

“… ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพชอบ
เป็นหลักสําคัญ ผู้ที่จะสามารถประพฤติชอบ และหาเลี้ยงชีพชอบได้ด้วยนั้น ย่อมจะมีทั้ง วิชาความรู้ทั้งหลักธรรมทางศาสนา เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยสําคัญสําหรับใช้กระทําการ
ทํางาน สิ่งหลังเป็นปัจจัยสําคัญสําหรับส่งเสริมความประพฤติและการปฏิบัติงานให้ชอบ คือ ให้ถูกต้องและเป็นธรรม ...” 


ความตอนหนึ่งในพระราชดํารัส พระราชทานแก่ครูโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม 4  จังหวัดภาคใต้จังหวัดปัตตานี 24 สิงหาคม 2519 

White Structure

ความรู้คู่คุณธรรม

ประเทศไทยผ่านแนวคิดที่จะสร้าง “คนเก่ง” และเร่งให้เป็น “คนรวย” จนเห็นผลแล้วว่าเป็นการ “ถอยหลังเข้าคลอง” ดังนั้นแนวทางความเจริญที่ยั่งยืน มีความสงบสุขของคนทุกฝ่าย ต้องมาจากการประพฤติชอบ (คุณธรรม) และการหาเลี้ยงชีพชอบ (ความรู้) 

แนวทางการ “สร้างคน” ให้มีความรู้คู่คุณธรรม (หาเลี้ยงชีพชอบ+ความประพฤติชอบ) จึงเป็นสิ่งจําเป็น

 

การให้องค์ความรู้ที่เท่าทันทัดเทียมกับสังคมโลกจึงไม่เพียงพอ
จะต้องเสริม สร้างสติปัญญา พัฒนาทางด้านจิตใจให้เจริญเข้มแข็ง กล้าหาญที่จะเลือกวิธีการที่ถูกต้องดีงามด้วย จึงจะนําความสงบสุขของสังคมบ้านเมืองให้เกิดขึ้นได้เป็นการพัฒนาประเทศให้มั่นคงยั่งยืนอย่างแท้จริง 

เน้น “การมีส่วนร่วม” จนเกิดการ “ระเบิดจากข้างใน” 

ด้วยบุคลากรที่มีจํากัด การทํางานทุกอย่างจําเป็นที่ต้องอาศัยการเข้ามามีส่วนร่วมของนิสิตเป็นอย่างมาก เริ่มจากการสร้างความตระหนักรู้ในเป้าหมายหรือปัญหาที่มีเสียก่อน เป็นการสร้างความ “เข้าใจ” ร่วมกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามาร่วมคิดร่วมทํา พูดคุย ลงมือ พบปัญหา ทดลองแก้ไข จึง “เข้าถึง” ปัญหาได้อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้ว่าคณะทํางานทุกชุดทุกฝ่าย ล้วนแล้วแต่เป็นนิสิตปัจจุบัน ที่เข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหา พัฒนางาน และร่วมสร้างให้ที่นี่เป็นชุมชนเมืองเข้มแข็งได้ต่อไปในอนาคต 

แม้ว่าในปัจจุบันเรายังไม่ได้ถึงเป้าหมาย “ชุมชนเมืองเข้มแข็ง” ที่ถึงพร้อมด้วยสามัคคีธรรม แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราสามารถ “พัฒนา” งานไปได้อย่างรวดเร็ว ก็ด้วยอาศัยความมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย การพัฒนาก็ยังต้องดําเนินต่อไป การพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนา ชุมชน ต้องมีความต่อเนื่อง จนทุกคนเกิดความพออยู่พอกิน มีความเข้มแข็งจากภายใน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงจากทุกด้านได้จริงเสียก่อน หากยังไม่สามารถ “ระเบิดจากข้างใน”  ได้นั้น การจะมุ่งเน้นไปที่การประชาสัมพันธ์เพื่อให้โครงการมีชื่อเสียงนั้นยังไม่ควรกระทํา 

การประชาสัมพันธ์ควรมีแต่พอสมควร เป้าหมายเพื่อให้คนรู้ว่ายังมีทางเลือก จะได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้สร้างความเข้มแข็งให้ตนเอง โครงการต้องสนับสนุนการเติบโตอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่เน้นความเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ก้าวกระโดดอย่างมาก เมื่อมีความพร้อมของ นิสิตและโครงสร้าง จึงค่อย ๆ สนับสนุนและเชื่อมโยงกับภายนอกต่อไป

Leaf Pattern Design
White Structure

ทำงานแบบคนจน

ใช้เงินทุนจากไหน? ได้ทุนจากการบริจาค ก็เป็นเรื่องดี
ได้งบจากภาครัฐ ก็เป็นเรื่องดีแต่ถ้า ไม่มีงบประมาณจากทางไหนเลยล่ะ จะทําอย่างไร! จะเริ่มอย่าไร!

ตั้งแต่เริ่มต้นในปี 2558 เราพยายามทําทุกอย่างเพื่อให้สามารถ
พึ่งตัวเองได้ช่วยตัวเองได้ การ “ทํางานแบบคนจน” เป็นแนวทางสําคัญที่สุด ที่เตือนให้เราพยายามแก้ไขปัญหาความขาดแคลนและความไม่พร้อมทุกอย่างให้เต็มกําลังสติปัญญา ใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องไม่ย่อท้อ เมื่อลงทุนให้พร้อมไม่ได้การทํางานก็ต้องไม่ติดตํารา ต้องพร้อมประยุกต์ใช้ ดัดแปลงอยู่เสมอ ต้องหาแนวคิดและวิธีการที่จะทํางานให้ได้ผล โดยเลือกวิธีที่ "ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด” แม้ว่าจะไม่ได้ผลดีมากกว่าผู้อื่น แต่ต้องเพียงพอ ทําให้เกิด ประโยชน์ได้จริง และสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้เป็นลําดับขั้นต่อไปในอนาคต

ขาดทุนคือกำไร

ในขณะที่ไม่มีงบประมาณสนับสนุน แต่คนส่วนใหญ่ต้องเข้าถึงได้ทําให้การบริหารงบประมาณนั้นต้องยึดหลัก “ขาดทุนคือกําไร” คือในช่วงริเริ่มบุกเบิกจําเป็นต้องขาดทุนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมก่อน เช่นคณาจารย์ที่เข้ามาสอนก็ต้องทําแบบไม่คิดเงิน ผู้เรียนก็ดูแล จัดหาเรื่องข้าวน้ำการเดินทาง แต่ต้องไม่หลงจากเป้าหมายว่า “เรามาช่วยให้เขาช่วยตัวเองได้” จะทําแบบของแจกของฟรีก็ไม่ได้ จะแพงจนเอื้อมไม่ถึงก็ไม่ได้ ต้องให้เขาเกิดความตระหนักรู้ จ่ายอย่างมีเหตุผล พอประมาณกับฐานะของตน เข้าใจอย่างแท้จริงว่าทําไมต้องมีค่าใช้จ่ายเหล่านี้ จึงค่อยพัฒนาให้ทุกฝ่ายอยู่ได้ มีความพอเพียงมีความเป็นอยู่ที่ดีตามฐานะของตนตามลําดับ เกิดเป็นความพอเพียงเกื้อกูลกันในด้านการบริหารงบประมาณ

Leaf Pattern Design

เราสร้างคน เพื่อคนไปสร้างงาน 

การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนเป็นหน้าที่ของเราทุกคน งาน “สร้างคน”
จึงสําคัญ เมื่อคนมีความพร้อมทั้งความรู้คู่คุณธรรมแล้ว พึ่งตนเองได้ช่วยตัวเองได้มีความพออยู่พอกิน ก็จะสามารถสร้างประโยชน์สู่ภายนอก ร่วมกันพัฒนาประเทศ ยังผลเกื้อกูลสู่สังคมโลกได้ต่อไป

bottom of page